วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2561

บทที่8

Decision Support System
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ


  • ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ คือ ระบบที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างตัวแบบการตัดสินใจที่ซับซ้อน เพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาที่มีลักษณะกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้างได้ดีขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานขององค์กร
  • การทำงานของ DSS เป็นเป็นการประสานการทำงานระหว่างบุคลากรกับเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์ โดยเป็นการกระทำโต้ตอบกัน
  • ระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ ประกอบด้วยชุดเครื่องมือ ข้อมูล ตัวแบบ และทรัพยากรอื่นๆ
  • ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เริ่มขึ้นในช่วงปี ค.ศ.1970 เพื่อที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศที่ช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจ

ความสามารถของ DSS

  1. สนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร
  2. สนับสนุนการสร้างฐานความรู้
  3. สนับสนุนการใช้งานของผู้บริหารแบบต่อประสานกับผู้ใช้

ประเภทของตัวแบบ

แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
  1. ตัวแบบกายภาพ (Physical Models)
  2. ตัวแบบกราฟิก (Graphical Models)
  3. ตัวแบบพรรณา (Descriptive or Narrative Models)
  4. ตัวแบบคณิตศาสตร์ (Mathematical Models)

ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
  1. ระบบการจัดการข้อมูล (Data Management System)
  2. ระบบการจัดการตัวแบบ (Model Management System)
  3. ระบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management System)
  4. ระบบการติดต่อกับผู้ใช้ (User Management System)

ระบบการจัดการข้อมูล (Data Management System)

  • ระบบการจัดการข้อมูล เป็นการรวบรวมข้อมูลทั้งภายในและภายนอกองค์การที่มีความสัมพันธ์กับองค์การไว้ในฐานข้อมูล
  • ฐานข้อมูล Database เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน จากแหล่งข้อมูลภายในองค์การ ภายนอกองค์การ และข้อมูลความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
  • ระบบจัดการฐานข้อมูล 
  • พจนานุกรมข้อมูล
  • สิ่งอำนวยความสะดวกในการสอบถามข้อมูล

ระบบการจัดการตัวแบบ (Model management system)

  • ระบบการจัดการตัวแบบ เป็นชุดของซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่รวมตัวแบบต่างๆ ที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล และมีซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการแบบจำลองในงานต่างๆ เรียกว่าระบบจัดการฐานตัวแบบ
  • ฐานตัวแบบ เป็นแหล่งที่เก็บตัวแบบต่างๆ 
  • ระบบจัดการฐานตัวแบบ มีหน้าีท่ในการสร้างแบบจำลองเพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาการทำงาน
  • พจจนานุกรมตัวแบบ เป็นรายละเอียดตัวแบบและซอฟต์แวร์ทั้งหมดในฐานตัวแบบ
  • การประมวลผลตัวแบบ

ระบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management System)

  • ระบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management System) เป็นระบบย่อยที่เพิ่มเติมขึ้นมาเพื่อสนับสนุนระบบย่อยอื่นๆ ให้ทำงานได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพ
  • ความรู้ประกอบด้วย ความจริง หลักเกณฑ์ ทฤษฎี ความชำนาญ ความสามารถเฉพาะตัว ดุลพินิจ สามัญสำนึก วิจารณญาณ และการใช้ความรู้สึกส่วนตัว

ระบบการติดต่อกับผู้ใช้ (User Management System)

  • ระบบการติดต่อกับผู้ใช้ เป็นการจัดการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
  • ส่วนติดต่อกับผู้ใช้ เป็นฮาร์ดแวรืและซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการติดต่อสื่อสารและโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์
  • การสร้างส่วนติดต่อกับผู้ใช้ที่มีประสิทธิผล ต้องคำนึงถึงประเด็นต่างๆ เช่น การเลือกอุปกรณ์นำเข้าและแสดงผล การออกแบบหน้าจอ ลำดับของการโต้ตอบระหว่างมนุษย์และเครื่องจักร การใช้สีและเงา เป็นต้น

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI)

หมายถึง ความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต ปัญญาประดิษฐ์เป็นสาขาหนึ่งในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมเป็นหลัก แต้ยังรวมถึงศาสตร์ในด้านอื่นๆ อย่างจิตวิทยา ปรัชญา ชีววิทยา และการจัดการ มาผสมผสานเข้ากับศาสตร์ทางด้านคอมพิวเตอร์
AI แบ่งได้ 4 กลุ่ม ดังนี้
  • ระบบที่คิดเหมือนมนุษย์
  • ระบบที่กระทำเหมือนมนุษย์
  • ระบบที่คิดอย่างมีเหตุผล
  • ระบบที่กระทำอย่างมีเหตุผล

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจในระดับกลุ่มงาน (Group Decision Support System : GDSS)

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจในระดับกลุ่มงาน หรือ GDSS ประกอบด้วยส่วนประกอบที่เหมือนกับระบบสนับสนุนการตัดสินใจทั่วไป ต่างกันที่มีการเพิ่มซอฟต์แวร์สำหรับการจัดการในระดับกลุ่มงาน เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในระดับกลุ่มงาน ให้มีประสิทธิผลมากขึ้น คือจะอนุญาติให้ผู้ใช้หลายๆคน เข้าใช้งานแฟ้มข้อมูล ฐานข้อมูล และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในขณะเดียวกันได้ และอนุญาติให้สมาชิกกลุ่มสามารถทำงานเดียวกันได้ และอยู่ในที่ต่างๆได้



ระบบสนับสนุนการตัดสินใจในระดับกลุ่มงานสามารถสนับสนุนวิธีการตัดสินใจแบบต่างๆ ได้แก่

  1. วิธีเดลฟี (Delphi Approach)
  2. การระดมสมอง (Brainstorming)
  3. วิธีการลงมติเอกฉันท์ของกลุ่ม (Group Consensus Approach)
  4. วิธีความเชื่อของกลุ่ม (Nominal Group Technique)

ระบบสนับสนุนสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System : EIS)

เป็นระบบสารสนเทศที่ผู้บริหารระดับสูงนำมาใช้เป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนการบริหาร การตัดสินใจ การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงคื และเป้าหมาย ตลอดจนการวางแผนกลยุทธ์ให้ถูกต้อง ทันต่อเหตุการณ์ นอกจากนี้ยังช่วยอำนวยประโยชน์ในด้านการติดต่อสื่อสาร และมีสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้บริหารในองคืการ และมีการตัดสินใจเป็นทีม และไปในแนวทางเดียวกันทั้งระหว่างผู้บริหารระดับสูงด้วยกัน ระหว่างบุคลากรในองค์การ หรือการติดต่อสื่อสารระหว่างองค์การ

คุณลักษณะของ EIS

  1. สนับสนุนการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง โดยใช้ข้อมูลจากแหล่งภายในและภายนอก
  2. ให้สารสนเทศที่ถูกต้อง ทันต่อเหตุการณ์
  3. ผู้บริหารระสูงสามารถติดตามหรือประเมินผลการดำเนินงานการใช้ทรัพยากร
  4. สามารถคาดคะเนปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น
  5. ผู้บริหารระดับสูงสามารถมองเห็นภาพความเป็นไปในธุรกิจได้อย่างชัดเจน
  6. เกิดความสะดวกและประหยัดเวลาในการติดตามข้อมูลข่าวสาร
  7. ให้ข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างองค์กรที่ดำเนินธุรกิจเดียวกัน
  8. ช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงเล็งเห็นโอกาสใหม่ๆ ที่แตกต่างไปจากคู่แข่งขัน
  9. เพิ่มศักยภาพในการบริหารงานให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน












แหล่งอ้างอิง
https://acc5606103108.wordpress.com
https://th.wikipedia.org/wiki/ปัญญาประดิษฐ์
https://acc5606103108.wordpress.com/

บทที่8

Decision Support System ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ คือ ระบบที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ การรวบรวมข้อม...